เวลากล่าวถึงกริยาช่วยในภาษาอังกฤษ เราสามารถบอกไว้ว่า “will” และ “would” เป็นคู่คำที่ผู้เรียนภาษาอังกฤษคนไหนก็คุ้นเคยกันดี อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนได้เรียนรู้วิธี will would ใช้ยังไง ให้ชัดเจน แล้วคำว่า “would” มีความหมายเพียงแค่อดีตของ “will” เท่านั้นหรือไม่ ในบทเรียนวันนี้ ELSA Speak จะช่วยให้คุณเพิ่มเติ่มข้อมูลเกี่ยวกับ will would ใช้ยังไง นะ
1. Will
พูดถึง “will” ก็คือพูดถึงอนาคตแบบเดี่ยว Future Simple Tense หรือ ประโยคอนาคตกาล ด้วยโครงสร้าง
สอบก่อนเข้าฟรี
ประโยคบอกเล่า : Subject + will + infinitive verb + object
ประโยคปฏิเสธ : Subject + will not หรือ won’t + infinitive verb + object
เสมือนกับชื่อของโครงสร้าง Future Simple Tense ใช้ในการอธิบายการกระทำในอนาคต ได้แก่
แสดงการคาดการณ์เชิงอัตนัยเกี่ยวกับอนาคต
เราจะใช้ Future Simple Tense เพื่อทำนายหรือให้ความเห็นของเราเกี่ยวกับอนาคต โดยมิได้พิจารณาหรือพิจารณาอย่างมากนักเกี่ยวกับสถานการณ์ สภาพความเป็นอยู่หรือสถานการณ์ในความเป็นจริง
ตัวอย่าง
I don’t know much about his performance at work, but I think he will pull this plan off.
⟶ ฉันไม่รับรู้มากเท่าใดเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานของเขา แต่ฉันคิดว่าเขาจะทำได้ดีกับแผนการครั้งนี้
การวิเคราะห์
ในตัวอย่างข้อนี้ ผู้พูดได้ทำการคาดการณ์ว่า “เขาจะทำแผนนี้ได้ดี” แต่นั่นเป็นเพียงความเห็นส่วนบุคคลที่ไม่สร้างมาจากข้อมูลที่มีอยู่มากนัก เนื่องจากผู้พูดเองก็ยืนยันว่า “ฉันไม่รู้อะไรมากเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงานของเขา”
แสดงถึงการตัดสินใจหรือการวางแผนที่ถูกทำขึ้นโดยทันทีที่กำลังพูด อาจจะไม่แน่ใจว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่
เราจะใช้ Future Simple Tense เพื่อให้ระบุถึงการตัดสินใจหรือความตั้งใจที่เกิดขึ้นทันทีที่กำลังพูด โดยไม่ได้คิดหรือวางแผนล่วงหน้าไว้ในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น ในบางกรณี การตัดสินใจหรือการวางแผนเหล่านี้อาจเป็นการที่เรายังไม่แน่นอน
ตัวอย่างที่ 1 สถานการณ์ว่า คุณกำลังจะพิมพ์เอกสารแต่กระดาษหมด คุณจะพูดว่า
I will ask the HR Department to buy some packs of paper.
⟶ ฉันจะบอกให้แผนกทรัพยากรมนุษย์ (HR Department) ซื้อกระดาษเพิ่มบางแพ็ค
การวิเคราะห์ของตัวอย่างที่ 1
ในตัวอย่างข้อนี้ ผู้พูดมองเห็นกระดาษหมดและในขณะนั้นตั้งใจที่จะ “บอกให้แผนกทรัพยากรมนุษย์ซื้อกระดาษเพิ่ม” ในกรณีเรื่องนี้ ผู้ผูดน่าจะดำเนินการตามแผนข้างต้นอย่างแน่นอน
ตัวอย่างที่ 2 คุณกับเพื่อนกำลังวิ่งข้าม Magnolias Waterfront Residences (แมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟรอนท์ เรสซิเดนซ์) ในขณะนี้ คุณยังไม่มีความสามารถทางการเงินมากเพียงใด แต่ล้อเล่นว่า:
I will buy an apartment here.
⟶ ฉันจะซื้ออพาร์ทเม้นท์ที่นี่
การวิเคราะห์ของตัวอย่างที่ 2
ในตัวอย่างข้อนี้ ความตั้งใจที่จะ “ซื้ออพาร์ทเม้นท์” ไม่ใช่ความตั้งใจที่จริงจัง หรือถ้าหากเป็นเรื่องที่แท้จริงเพียงใด ด้วยการใช้ Future Simple Tense เราอาจจะเห็นว่าเขาตัดสินใจให้ทันทีแล้วพูดออกไป โดยไม่ได้คิดหรือพิจารณาล่วงหน้าเลย จากนั้น เราได้รับรู้ว่า แผนการซื้ออพาร์ทเม้นท์อาจไม่กลายเป็นเรื่องที่แท้จริง หรือเราจะไม่ได้รู้ว่าแผนการเรื่องนี้จะเป็นเรื่องจริงเมื่อใด
เมื่อต้องการให้คำสัญญาหรือสัญญาในอนาคต
ตัวอย่างที่ 1
Mr. David, I promise I will meet all the deadlines.
⟶ ครูเดวิดครับ/คะ ผม/ฉันสัญญาว่าจะส่งการบ้านตรงเวลาครับ/ค่ะ
ตัวอย่างที่ 2
Don’t worry! I will divide the workload fairly.
⟶ ไม่ต้องห่วง ผมจะแบ่งปริมาณงานอย่างยุติธรรมครับ
อ้างอิงบทความ Modal verb เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกริยาช่วยที่คล้ายกับ “will” และ “would”
2. Would
ประการแรก เช่นเดียวกับโครงสร้างของกริยาช่วย “will” กริยาช่วย “would” ก็จะมาก่อนกริยา infinitive
ประโยคบอกเล่า : Subject + would + infinitive verb + object
ประโยคปฏิเสธ : Subject + would not หรือ wouldn’t + infinitive verb + object
กริยาช่วย “would” สามารถ
บอกอนาคตของเรื่องราวในอดีต
กริยาช่วยว่า “would” สามารถแสดงถึงเหตุการณ์ซึ่งเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนับจากเวลาใดเวลาหนึ่ง แต่ว่าในเวลาปัจจุบัน เหตุการณ์นั้นเป็นเรื่องของอดีตไปแล้ว เรามารับชมตัวอย่างดังนี้
ตัวอย่าง
Yesterday, I thought my boss would approve of my idea, but she didn’t.
⟶ เมื่อวานนี้ ฉันคิดว่าเจ้านาย (boss) ของฉันจะเห็นด้วยกับความคิดของฉัน แต่เธอกลับไม่ตกลง
การวิเคราะห์
ในขณะที่ผู้พูด “คิด” ว่า การกระทำ “เห็นด้วย” ของเจ้านายยังเป็นเรื่องของอนาคต แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเวลาที่ผู้พูดกล่าวประโยคข้างต้น การกระทำ “เห็นด้วย” ไม่ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นอดีตไปแล้ว
บอกอนาคตของเรื่องราวในอดีต
เราสามารถใช้คำว่า “would” เพื่อพูดถึงกิจวัตรหรือการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นประจำในอดีต แต่ไม่ค่อยเกิดขี้นในปัจจุบันนี้อีกแล้ว สังเกตได้ว่า ในกรณีนี้ หลังจากกริยาช่วย “would” เราสามารถใช้กริยา infinitive ได้เกือบทั้งหมด ยกเว้น กริยา infinitive “be”
ตัวอย่าง
When I was still working for that garment company, I would buy some of its products every time I got my salary.
⟶ เมื่อฉันยังทำงานที่บริษัทตัดเย็บเสื้อผ้านั้น ฉันเคย (มีกิจวัตร) ซื้อสินค้าของบริษัททุกครั้งที่ได้รับเงินเดือน
รวมกับกริยาว่า “like” เพื่อใช้แทนหน้าที่ของกริยาว่า “want” ในบริบทที่เป็นทางการและสุภาพ
เจ้าของภาษามักจะไม่ใช้กริยาว่า “want” ในบริบทที่เป็นทางการและสุภาพ แต่มักจะใช้กริยาช่วย “would” ร่วมกับกริยา “like” เพราะฉะนั้น หลัง “would like” อาจมีคำนามหรือ “to infinitive”
ตัวอย่างที่ 1
Good morning! I’m the Sales Manager of The Project. I would like to talk to Mr. Anderson.
⟶ สวัสดีตอนเช้า ฉันเป็นผู้จัดการฝ่ายขายของโครงการ ฉันต้องการคุยกับนาย แอนเดอร์สัน
ตัวอย่างที่ 2
Server: “And what would you like for dessert, ma’am?”
⟶ พนักงานเสิร์ฟ: “แล้วคุณอยากจะสั่งของหวานประเภทไหนครับ”
Diner: “I would like a passion fruit panna cotta.”
⟶ ลูกค้า: “ฉันขอพานาคอตต้าเสาวรส”
ปรากฏในประโยคหลักของประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentence) แบบที่ 2 หรือ แบบที่ 3
“Would” ยังเป็นส่วนนึ่งในในโครงสร้างประโยคหลักของ Conditional Sentence แบบที่ 2 (ซึ่งแสดงถึงเรื่องทีไม่เป็นจริงในปัจจุบัน) หรือ แบบที่ 3 (ซึ่งแสดงถึงเรื่องทีไม่เป็นจริงในอดีต)
ตัวอย่างที่ 1
– Conditional Sentence type 2:
If I were more efficient, I would be in a higher position now.
⟶ ถ้าฉันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (ในอดีต) ฉันคงจะอยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้นในบัดนี้แล้ว
ตัวอย่างที่ 2
– Conditional Sentence type 3:
Yesterday, if you hadn’t arrived at the meeting late, we would have presented our idea successfully.
⟶ เมื่อวานนี้ หากคุณไม่มาประชุมสาย พวกเราคงจะนำเสนอความคิด (ไอเดีย) ได้อย่างสำเร็จไปแล้ว
หมายเหตุ นอกจากนี้ กริยาว่า “would” ยังสามารถใช้ร่วมกับ “prefer” (“would prefer”) หรือ “rather” (“would rather”) เพื่อแสดงความหมายที่แตกต่างกันไป ซึ่ง ELSA Speak จะธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมในบทความต่อไป
ในบทความครั้งนี้ ELSA Speak ได้นำเสนอวิธีการเปรียบเทียบและหลักการใช้อย่างชัดเจนสำหรับกริยาช่วยคู่ “will” – “would” ELSA Speak หวังว่าจะช่วยให้ทุกคนได้รับรู้ will would ใช้ยังไง ให้ถูกต้องและง่ายดาย ทั้งระหว่างการเรียนรู้หรือศึกษาภาษาอังกฤษอยู่และเวลานำภาษาอังกฤษไปใช้ในชีวิตประจำวัน ขอบคุณที่อ่านบทความจนจบ ไว้เจอกันใหม่ในบทความต่อ ๆ ไปนะ