ในบทความนี้ ELSA Speak จะแนะนำ โครงสร้างและวิธี แต่งประโยคภาษาอังกฤษ ที่สมบูรณ์ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนแต่งประโยคให้ถูกต้อง
โครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษพื้นฐานที่สมบูรณ์
ก่อนที่จะเรียนรู้โครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษพื้นฐานในประโยค เราจำเป็นต้องทำความรู้จักกับตัวอักษรย่อเมื่อเขียนโครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษก่อน
สอบก่อนเข้าฟรี
– S = Subject: ประธาน
– V = Verb: กริยา
– O = Object: กรรม
– C = complement: ส่วนเติมเต็ม
=> นี่เป็นส่วนประกอบหลักของประโยคภาษาอังกฤษ
1. โครงสร้าง: S + V
บางครั้งเราจะเจอบางประโยคที่มีเพียงประธานและกริยาเท่านั้น
Eg: It is raining. ฝนกำลังตกอยู่ตอนนี้
S V
คำกริยาในโครงสร้างประโยคนี้มักจะเป็นอกรรมกริยา (คำกริยาที่ไม่จำเป็นต้องมีกรรมมารองรับ)
2. โครงสร้าง: S + V + O
นี่เป็นโครงสร้างประโยคที่ใช้บ่อยที่สุดในภาษาอังกฤษ
Eg: I like cats. (ฉันชอบแมว)
คำกริยาในโครงสร้างประโยคนี้มักจะเป็นสกรรมกริยา (คำกริยาที่บอกใจความยังไม่สมบูรณ์ ต้องมีกรรมมารองรับ)
3. โครงสร้าง: S + V + O + O
Eg: She gave me a gift. เธอให้ของขวัญฉัน
สำหรับประโยคที่มีกรรม 2 ตัวที่อยู่ติดกัน หนึ่งกรรมจะเป็นกรรมตรง (กรรมที่รับการกระทำจากกริยาโดยตรง) และกรรมตัวที่เหลือจะเป็นกรรมรอง (กรรมที่ถูกกระทำโดยตรงจากกริยา)
ในตัวอย่างข้างต้น คำว่า “me” จะเป็นกรรมรอง และ “a gift” จะเป็นกรรมตรง เพราะการกระทำในประโยคนี้คือ “gave” (ความหมายคือ ให้หรือถือบางสิ่งไว้ในมือแล้วคืนให้ใครบางคน) ดังนั้น “ของขวัญ” จึงเป็นกรรมที่รับการกระทำจากกริยาโดยตรง ส่วน “ฉัน” จะเป็นกรรมรอง ซึ่งไม่ได้รับการกระทำจากกริยาโดยตรง
4. โครงสร้าง: S + V + C
Eg: He looks tired. (เขาดูเหนื่อยมาก)
ส่วนเติมเต็มอาจจะเป็นคำนามหรือคำคุณศัพท์ที่อยู่หลังกริยา เรามักจะเจอคำเหล่านี้ในกรณีดังนี้
- กรณีที่ 1: ส่วนเติมเต็มเป็นคำคุณศัพท์วางไว้หลังกริยาเชื่อม
ตัวอย่าง:
S | V (linking verbs) | C (adjectives) |
She | feels/looks/ appears/ seems | tired. |
It | becomes/ gets | colder. |
This food | tastes/smells | delicious. |
Your idea | sounds | good. |
The number of students | remains/stays | unchanged. |
He | keeps | calm. |
My son | grows | older. |
My dream | has come | true. |
My daughter | falls | asleep. |
I | have gone | mad. |
The leaves | has turned | red. |
- กรณีที่ 2: ส่วนเติมเต็มเป็นคำนามวางไว้หลังกริยาเชื่อม
ตัวอย่าง
S | V(linking verbs) | C (nouns) |
He | looks like | a baby |
She | has become | a teacher |
He | seems to be | a good man |
She | turns | a quiet woman |
- กรณีที่ 3: ส่วนเติมเต็มเป็นคำนามที่บอกระยะทาง น้ำหนัก หรือช่วงเวลาที่พบบ่อยในโครงสร้าง V + (for) + N (ระยะทาง น้ำหนัก ช่วงเวลา)
ตัวอย่าง
S | V | C (Nouns) |
I | walked | (for) 20 miles. |
He | waited | (for) 2 hours. |
She | weighs | 50 kilos |
This book | costs | 10 dollars |
The meeting | lasted | (for) half an hour. |
5. โครงสร้างประโยค: S + V + O + C
Eg: She considers herself an artist. (เธอคิดว่าตัวเองเป็นศิลปิน)
S V O C
ส่วนเติมเต็มโครงสร้างประโยคนี้เป็นส่วนเติมเต็มของกรรม และมักจะตามหลังกรรม
ส่วนประกอบพื้นฐานในประโยคภาษาอังกฤษ
1. ประธาน (Subject = S)
ประธานเป็นคำนาม คำนามวลี หรือคำสรรพนาม (เป็นบุคคล สิ่งของ หรือเหตุการณ์) ที่ทำการกระทำ (ในประโยคที่ประธานเป็นผู้กระทำ) หรือ ถูกกระทำ (ในประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ)
Eg: My father plays football very well.
This book is being read by my friend.
2. กริยา (Verb = V)
กริยาเป็นคำหรือกลุ่มคำที่แสดงการกระทำหรือสถานะ
Eg: She eats very much. เธอกินอาหารเยอะมาก
V => แสดงการกระทำ
She disappeared two years ago. ( เธอหายไปเมื่อ 2 ปีก่อน). => V แสดงสถานะ (หายไป)
3. กรรม (Object = O)
กรรมเป็นคำนาม คำนามวลี หรือคำสรรพนามที่เป็นบุคคล สิ่งของ เหตุการณ์ที่ถูกกระทำโดยตรงหรือโดยอ้อมจากกริยาของประโยค
Eg: I bought a new car yesterday.
4. ส่วนเติมเต็ม (Complement = C)
ส่วนเติมเต็มเป็นคำคุณศัพท์หรือคำนามที่มักจะอยู่หลังกริยาเชื่อมหรืออยู่หลังกริยากรรมเพื่อเติมความหมายให้ประธานหรือกรรมในประโยค
Eg: She is a student. => ส่วนเติมเต็มให้ประธาน “she”.
He considers himself a super star. (เขาคิดว่าตัวเองเป็นซุปเปอร์สตาร์)
5. คำคุณศัพท์ (Adjective = adj)
คำคุณศัพท์เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะ บุคลิกภาพ ฯลฯ ของบุคคล สิ่งของ หรือ เหตุการณ์ โดยปกติจะอยู่หลังคำกริยา “to be” และคำกริยาเชื่อม หรืออยู่หน้าคำนามที่ใช้เป็นคำขยายคำนาม
Eg: She is tall. (เธอสูงมาก)
He looks happy. (เขาดูมีความสูก)
They are good students. (พวกเขาเป็นนักเรียนที่ดี)
6. คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb = adv)
คำกริยาวิเศษณ์เป็นคำที่บ่งบอกถึงการกระทำที่เกิดขึ้นหรือแสดงระยะเวลา สถานที่ ระดับ ความถี่ คำกริยาวิเศษณ์อาจจะอยู่หน้าหรืออยู่หลังประโยค อยู่หน้าหรืออยู่หลังคำกริยาเพื่อขยายความให้กริยา และอยู่หน้าคำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์อื่นเพื่อขยายความให้คำคุณศัพท์ หรือคำกริยาวิเศษณ์นั้น
Eg: Yesterday I went home late. (เมื่อวานฉันกลับบ้านสาย)
I live in the city. (ฉันอาศัยอยู่ในเมือง)
He studies very well. (เขาเรียนเก่งมาก)
คุณเข้าใจโครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษที่สมบูรณ์แล้วใช่หรือไม่? หากมีคำถามสงสัย สามารถคอมเมนต์ด้านล่างบทความนี้ แล้วเราจะตอบกลับอย่างเร็วที่สุด