Author: [email protected]

แม้ว่าโลกพฤกษศาสตร์จะมีความหลากหลายมากมาย แต่การเรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับผักภาษาอังกฤษจะไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไปหากคุณได้ค้นพบแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสม  นอกจากนี้ สำหรับผู้คนที่ทำงานในด้านอาหาร เรื่องนี้จะกลายเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ  อย่าพลาดบทเขียนต่อไปนี้ของ ELSA Speak เพื่อให้เก็บชุดคำศัพท์เกี่ยวกับ ผักภาษาอังกฤษ นะ

คำศัพท์เกี่ยวกับ ผักภาษาอังกฤษ

การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษในหัวข้อผักผลไม้ก็เป็นหนึ่งในเนื้อหาที่สำคัญ  โลกของพฤกษศาสตร์มีความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก  คุณจะได้พบคำเหล่านี้ในหลาย ๆ ด้านในชีวิตประจำวัน  นั่นก็เป็นเหตุผลที่คุณต้องจำคำศัพท์อย่างรอบคอบเพื่อนำไปใช้ในชีวิตและการทำงาน  หากคุณกำลังทำงานในร้านอาหาร โรงแรม หรือด้านอาหารต่าง ๆ หรือเพียงแค่ต้องการพัฒนาคำศัพท์ภาษาอังกฤษตนเองอเท่านั้น บทเขียนในวันนี้ของ ELSA Speak จะเป็นของขวัญพิเศษสำหรับคุณ

ผักใบเขียวต่าง ๆ และผักตระกูลกะหล่ำในภาษาอังกฤษ

ผักภาษาอังกฤษ 03

ผักประเภทหัวในภาษาอังกฤษ

เห็ดประเภทต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ

คำศัพท์ความหมาย
Mushroomเห็ด
Fatty mushroomsห็ดกระดุม/เห็ดแชมปิญอง
King oyster mushroomเห็ดนางรมหลวง
Black fungus เห็ดเชื้อราดำ/เห็ดหูหนูดำ
Abalone mushroomsเห็ดเป๋าฮื้อ
Ganodermaเห็ดหลินจือ
Enokitakeเห็ดเข็มทอง
Straw mushroomsเห็ดฟาง
White fungusเห็ดหูหนูขาว

พืชตระกูลถั่วและเมล็ดพืชต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ

ผักภาษาอังกฤษ 04

ตัวอย่างบทสนทนาใช้คำศัพท์เกี่ยวกับ ผักภาษาอังกฤษ

หนึ่งในเคล็ดลับการจำคำศัพท์เกี่ยวกับผักภาษาอังกฤษคือการฝึกสร้างประโยค  จากนั้นคุณจะจำคำศัพท์ได้ดีขึ้นและในขณะเดียวกันก็เข้าใจบริบทและการใช้คำศัพท์ไปด้วย  ต่อไปนี้ ELSA Speak จะแนะนำรูปแบบประโยคภาษาอังกฤษที่พบบ่อยที่สุดเกี่ยวกับผักภาษาอังกฤษ อย่าลืมบันทึกและฝึกฝนนะ

A: Oh, today, the supermarket is full of fresh vegetables.  (อ่อ วันนี้ซุปเปอร์มาร์เก็ตเต็มไปด้วยผักสด)

B: Hello, what do you want to buy?  (สวัสดีค่ะ เอาอะไรดีคะ)

A: I want to buy mangoes  (ฉันต้องการมะม่วง)

B: The newly imported supermarket is so delicious  (ซุปเปอร์มาร์เก็ตนำเข้าผลใหม่อร่อยมากนะคะ)

A: So, can I get 3 kgs of this mango?  (งั้นฉันขอมะม่วง 3 กิโลได้ไหมคะ)

B: Anything else you want to buy?  (คุณอยากเอาอะไรอีกไหมคะ)

A: I want to buy potatoes and tomatoes. (ฉันต้องการมันฝรั่งและมะเขือเทศค่ะ)

B: OK. Do you need more carrots? (โอเคค่ะ คุณต้องการแครอทด้วยไหมคะ)

A: Yes. I may need more carrots for soup. Where is the fruit stand? (ได้ค่ะ ฉันอาจต้องการแครอทเพิ่มให้อาหารซุป ขายที่ไหนคะ)

B: I’ll take you guys!  (เดี๋ยวฉันจะพาไปให้)

A: I need to buy strawberries and oranges to make a smoothie  (ฉันต้องซื้อสตรอเบอร์รี่และส้มเพื่อทำสมูทตี้ค่ะ)

B: Strawberries on the left shelf and orange on the bottom shelf. Take your bag here and choose!  (สตอเบอร์รี่อยู่ชั้นวางด้านซ้ายและส้มอยู่ชั้นล่างสุด หยิบกระเป๋ามาเลือกได้เลยค่ะ)

A: Thank you, fresh vegetables are so delicious.  (ขอบคุณค่ะ ผักสดอร่อยมากค่ะ)

B: Next time you come to our supermarket!  (โอกาสหน้าเชิญใหม่นะคะ)

A: Of course. (แน่นอนค่ะ)

elsa speak official

ในขณะเขียนจดหมาย เขียน CV หรือลายเซ็นของอีเมล เป็นต้น เราไม่สามารถข้ามการป้อนข้อมูลที่อยู่ได้  อย่างไรก็ตาม หลายคนยังสับสนว่า ต้องเขียน ที่อยู่ภาษาอังกฤษ อย่างไรให้ถูกต้องและเป็นมืออาชีพ  เนื่องจากได้รับความสงสัยจากผู้เรียนหลาย ๆ คน ELSA Speak จะแนะนำวิธีการเขียนที่อยู่ภาษาอังกฤษให้ถูกต้องที่สุดในบทความวันนี้ มาดูกันเลย

1. ภาพรวมของการเขียนที่อยู่เป็นภาษาอังกฤษ

เช่นเดียวกับภาษาไทย ในขณะเขียนที่อยู่เป็นภาษาอังกฤษ เราก็จะเขียนตามลำดับของเขตการปกครองจากหน่วยที่เล็กที่สุดถึงหน่วยที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งทำให้ผู้อ่านสามารถรับรู้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย  แล้วที่อยู่ภาษาอังกฤษ ตัวอย่างเช่น บ้านเรามีหมายเลข 43/2 หมู่ 5 ซอยพัฒนา ถนนสวัสดี จะเขียนอย่างไรให้ถูกต้อง มาดูกันเลย

มีกฎ 3 ข้อสำหรับการเขียนที่อยู่เป็นภาษาอังกฤษที่ควรรู้ ได้แก่

ถนนสุทธิสารSuthisarnvinijchai Road;

แขวงบางเล็กBanglek Sub-district;

เขตห้วยขวางHuai Khwang District.

ถนน 123 ⟶ Road 123;

ซอยรามคำแหง 80 ⟶ Lane Ramkhumhaeng 80.

คอนโด The ResidencesThe Residences Condominium;

อะพาร์ตเมนต์ นิว เอพีจีNew APG Apartment.

คอนโด Number 139 ⟶ Condominium No. 139/Number 139;

อะพาร์ตเมนต์ Number 560 ⟶ Apartment No. 560/Number 560.

2. คำศัพท์ที่มักใช้ในการเขียน ที่อยู่ภาษาอังกฤษ

การเขียนที่อยู่ ภาษาอังกฤษเรียกว่า writting an address ซึ่งต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับที่อยู่ของผู้เขียน  ต่อไปนี้เป็นรายการคำศัพท์ที่ใช้บ่อยเมื่อพูดถึง ที่อยู่ในภาษาอังกฤษ ที่ ELSA Speak คิดว่าคุณมักจะต้องการในขณะให้รายละเอียดที่อยู่เป็นภาษาอังกฤษ

ที่อยู่ภาษาอังกฤษ 02

3. วิธีเขียน ที่อยู่ภาษาอังกฤษ ของหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ

ในแต่ละจังหวัดที่ประเทศไทย เขตการปกครองจะมีลักษณะตามลำดับ เช่น จังหวัด 🡪 อำเภอ 🡪 ตำบล 🡪 หมู่บ้าน  เรามาดูวิธีการเขียนที่อยู่ในตัวอย่าง 2 ข้อต่อไปนี้นะ

ก่อนอื่น ELSA Speak ขออนุญาตให้รายละเอียดคำแปลจากคำภาษาไทยอีกครั้ง เพื่อทำให้ทุกคนสามารถอ่านอย่างง่ายดายนะ

ต่อไปนี้เรามาดูตัวอย่าง ที่อยู่ภาษาอังกฤษ 2 ข้อดังนี้กับ ELSA Speak นะ

ตัวอย่างที่ 1

165/4 หมู่ 10 ตำบลวังบาล อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์

⟶ 165/4 Village No.10, Wangban Sub-district, Lomkao District, Phetchabun Province.

ตัวอย่างที่ 2

60 หมู่ 4 บ้านผักหวาน ตำบลสะเดา อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์

⟶ 60 Village No.4 Baan Pak Wan, Sadao Sub-district, Buached District, Surin Province.

จริง ๆ แล้ว หมู่ ภาษาอังกฤษยังสามารถได้เขียนว่า Moo  แต่ถ้าเขียนเป็น Moo คุณจะไม่ต้องเพิ่มคำว่า “No.” ในภายหลัง เช่น Village No.4 หรือ Moo 4 ก็เป็นเดียวกัน

4. วิธีเขียนที่อยู่ภาษาอังกฤษที่กรุงเทพมหานคร ทั้งเป็นบ้าน คอนโดหรืออะพาร์ตเมนต์

ในเมืองกรุงเทพฯ มีถนนหนทางและคอนโดหรืออะพาร์ตเมนต์มากมาย  ดังนั้นเมื่อเขียนที่อยู่เป็นภาษาอังกฤษ เรามักจะพบตัวอย่างดังต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 1

876/90 หมู่ 4 ถนนรามคำแหง ตำบลคลองกุ่ม อำเภอบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร

⟶ 876/90 Village No.4, Ramkhumhaeng Road, Klongkum Sub-district, Bungkum District, Bangkok.

ตัวอย่างที่ 2

90 อาคาร EL ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

⟶ 90 EL Tower, Ratchadaphisek Road, Huai Khwang Sub-district, Huai Khwang Distirct, Bangkok.

ตัวอย่างที่ 3

ห้อง 431 ชั้น 8 คอนโดมิเนียม EL ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ

⟶ Room 431, 8th Floor, EL Condominium, Ratchadaphisek Road, Huai Khwang Sub-district, Huai Khwang Distirct, Bangkok.

5. วิธีย่อที่อยู่เป็นภาษาอังกฤษ

ในการเขียนที่อยู่เป็นภาษาอังกฤษ บางครั้ง เราอาจเจอตัวอักษรเช่น St. Apt. หรือ Rd. ทั้งนี้คือตัวย่อที่อยู่ในภาษาอังกฤษ  มารับชมวิธีการย่อต่าง ๆ นะ

ที่อยู่ภาษาอังกฤษ 03

6. วิธีการถามที่อยู่เป็นภาษาอังกฤษ

ต่อไปนี้เป็นคำถามทั่วไปที่มักใช้ในการถามข้อมูลที่อยู่ในภาษาอังกฤษ:

1. What’s your address?

ที่อยู่ของคุณคืออะไร/ที่อยู่ของคุณคือที่ไหน

2. Are you a local resident?

คุณเป็นคนคนพื้นเมืองใช่หรือไม่

3. Where do you live?

คุณอาศัยอยู่ที่ไหน

4. Where is your domicile place?

ภูมิลำเนาของคุณอยู่ที่ไหน

5. Where are you from?

คุณมาจากที่ไหน

จากต้นจนถึงจุดนี้ ELSA Speak ได้แสดงวิธีการเขียนรวมถึงวิธีการใช้ที่อยู่เป็นภาษาอังกฤษมาตรฐานแบบคนเจ้าของภาษาเสร็จแล้ว  หวังว่าบทความในครั้งนี้จะช่วยทุกคนรับรู้เขียนที่อยู่ได้ง่ายขึ้น ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษนะ

เวลากล่าวถึงกริยาช่วยในภาษาอังกฤษ เราสามารถบอกไว้ว่า “will” และ “would” เป็นคู่คำที่ผู้เรียนภาษาอังกฤษคนไหนก็คุ้นเคยกันดี อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนได้เรียนรู้วิธี will would ใช้ยังไง ให้ชัดเจน แล้วคำว่า “would” มีความหมายเพียงแค่อดีตของ “will” เท่านั้นหรือไม่ ในบทเรียนวันนี้ ELSA Speak จะช่วยให้คุณเพิ่มเติ่มข้อมูลเกี่ยวกับ will would ใช้ยังไง นะ

1. Will

พูดถึง “will” ก็คือพูดถึงอนาคตแบบเดี่ยว Future Simple Tense หรือ ประโยคอนาคตกาล ด้วยโครงสร้าง

ประโยคบอกเล่า : Subject + will + infinitive verb + object

ประโยคปฏิเสธ : Subject + will not หรือ won’t + infinitive verb + object

เสมือนกับชื่อของโครงสร้าง Future Simple Tense ใช้ในการอธิบายการกระทำในอนาคต ได้แก่

แสดงการคาดการณ์เชิงอัตนัยเกี่ยวกับอนาคต

เราจะใช้ Future Simple Tense เพื่อทำนายหรือให้ความเห็นของเราเกี่ยวกับอนาคต โดยมิได้พิจารณาหรือพิจารณาอย่างมากนักเกี่ยวกับสถานการณ์ สภาพความเป็นอยู่หรือสถานการณ์ในความเป็นจริง

ตัวอย่าง

I don’t know much about his performance at work, but I think he will pull this plan off.

⟶ ฉันไม่รับรู้มากเท่าใดเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานของเขา แต่ฉันคิดว่าเขาจะทำได้ดีกับแผนการครั้งนี้

การวิเคราะห์

ในตัวอย่างข้อนี้ ผู้พูดได้ทำการคาดการณ์ว่า “เขาจะทำแผนนี้ได้ดี” แต่นั่นเป็นเพียงความเห็นส่วนบุคคลที่ไม่สร้างมาจากข้อมูลที่มีอยู่มากนัก เนื่องจากผู้พูดเองก็ยืนยันว่า “ฉันไม่รู้อะไรมากเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงานของเขา”

will would ใช้ยังไง- sử dụng will would 02

แสดงถึงการตัดสินใจหรือการวางแผนที่ถูกทำขึ้นโดยทันทีที่กำลังพูด อาจจะไม่แน่ใจว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่

เราจะใช้ Future Simple Tense เพื่อให้ระบุถึงการตัดสินใจหรือความตั้งใจที่เกิดขึ้นทันทีที่กำลังพูด โดยไม่ได้คิดหรือวางแผนล่วงหน้าไว้ในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น ในบางกรณี การตัดสินใจหรือการวางแผนเหล่านี้อาจเป็นการที่เรายังไม่แน่นอน

ตัวอย่างที่ 1  สถานการณ์ว่า คุณกำลังจะพิมพ์เอกสารแต่กระดาษหมด คุณจะพูดว่า

I will ask the HR Department to buy some packs of paper.

⟶ ฉันจะบอกให้แผนกทรัพยากรมนุษย์ (HR Department) ซื้อกระดาษเพิ่มบางแพ็ค

การวิเคราะห์ของตัวอย่างที่ 1

ในตัวอย่างข้อนี้ ผู้พูดมองเห็นกระดาษหมดและในขณะนั้นตั้งใจที่จะ “บอกให้แผนกทรัพยากรมนุษย์ซื้อกระดาษเพิ่ม”  ในกรณีเรื่องนี้ ผู้ผูดน่าจะดำเนินการตามแผนข้างต้นอย่างแน่นอน

ตัวอย่างที่ 2 คุณกับเพื่อนกำลังวิ่งข้าม Magnolias Waterfront Residences (แมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟรอนท์ เรสซิเดนซ์)  ในขณะนี้ คุณยังไม่มีความสามารถทางการเงินมากเพียงใด แต่ล้อเล่นว่า:

I will buy an apartment here.

⟶ ฉันจะซื้ออพาร์ทเม้นท์ที่นี่

การวิเคราะห์ของตัวอย่างที่ 2

ในตัวอย่างข้อนี้ ความตั้งใจที่จะ “ซื้ออพาร์ทเม้นท์” ไม่ใช่ความตั้งใจที่จริงจัง  หรือถ้าหากเป็นเรื่องที่แท้จริงเพียงใด ด้วยการใช้ Future Simple Tense เราอาจจะเห็นว่าเขาตัดสินใจให้ทันทีแล้วพูดออกไป โดยไม่ได้คิดหรือพิจารณาล่วงหน้าเลย  จากนั้น เราได้รับรู้ว่า แผนการซื้ออพาร์ทเม้นท์อาจไม่กลายเป็นเรื่องที่แท้จริง หรือเราจะไม่ได้รู้ว่าแผนการเรื่องนี้จะเป็นเรื่องจริงเมื่อใด

เมื่อต้องการให้คำสัญญาหรือสัญญาในอนาคต

ตัวอย่างที่ 1

Mr. David, I promise I will meet all the deadlines.

⟶ ครูเดวิดครับ/คะ ผม/ฉันสัญญาว่าจะส่งการบ้านตรงเวลาครับ/ค่ะ

ตัวอย่างที่ 2

Don’t worry! I will divide the workload fairly.

⟶ ไม่ต้องห่วง ผมจะแบ่งปริมาณงานอย่างยุติธรรมครับ

อ้างอิงบทความ Modal verb เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกริยาช่วยที่คล้ายกับ “will” และ “would”

2. Would

ประการแรก เช่นเดียวกับโครงสร้างของกริยาช่วย “will” กริยาช่วย “would” ก็จะมาก่อนกริยา infinitive

ประโยคบอกเล่า : Subject + would + infinitive verb + object

ประโยคปฏิเสธ : Subject + would not หรือ wouldn’t + infinitive verb + object

กริยาช่วย “would” สามารถ

บอกอนาคตของเรื่องราวในอดีต

กริยาช่วยว่า “would” สามารถแสดงถึงเหตุการณ์ซึ่งเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนับจากเวลาใดเวลาหนึ่ง  แต่ว่าในเวลาปัจจุบัน เหตุการณ์นั้นเป็นเรื่องของอดีตไปแล้ว  เรามารับชมตัวอย่างดังนี้

ตัวอย่าง

Yesterday, I thought my boss would approve of my idea, but she didn’t.

⟶ เมื่อวานนี้ ฉันคิดว่าเจ้านาย (boss) ของฉันจะเห็นด้วยกับความคิดของฉัน แต่เธอกลับไม่ตกลง

การวิเคราะห์

ในขณะที่ผู้พูด “คิด” ว่า การกระทำ “เห็นด้วย” ของเจ้านายยังเป็นเรื่องของอนาคต  แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเวลาที่ผู้พูดกล่าวประโยคข้างต้น การกระทำ “เห็นด้วย” ไม่ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นอดีตไปแล้ว

will would ใช้ยังไง- sử dụng will would 03

บอกอนาคตของเรื่องราวในอดีต

เราสามารถใช้คำว่า “would” เพื่อพูดถึงกิจวัตรหรือการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นประจำในอดีต แต่ไม่ค่อยเกิดขี้นในปัจจุบันนี้อีกแล้ว  สังเกตได้ว่า ในกรณีนี้ หลังจากกริยาช่วย “would” เราสามารถใช้กริยา infinitive ได้เกือบทั้งหมด ยกเว้น กริยา infinitive “be”

ตัวอย่าง

When I was still working for that garment company, I would buy some of its products every time I got my salary.

⟶ เมื่อฉันยังทำงานที่บริษัทตัดเย็บเสื้อผ้านั้น ฉันเคย (มีกิจวัตร) ซื้อสินค้าของบริษัททุกครั้งที่ได้รับเงินเดือน

รวมกับกริยาว่า “like” เพื่อใช้แทนหน้าที่ของกริยาว่า “want” ในบริบทที่เป็นทางการและสุภาพ

เจ้าของภาษามักจะไม่ใช้กริยาว่า “want” ในบริบทที่เป็นทางการและสุภาพ แต่มักจะใช้กริยาช่วย “would” ร่วมกับกริยา “like”  เพราะฉะนั้น หลัง “would like” อาจมีคำนามหรือ “to infinitive”

ตัวอย่างที่ 1

Good morning! I’m the Sales Manager of The Project. I would like to talk to Mr. Anderson.

⟶ สวัสดีตอนเช้า  ฉันเป็นผู้จัดการฝ่ายขายของโครงการ ฉันต้องการคุยกับนาย แอนเดอร์สัน

ตัวอย่างที่ 2

Server: “And what would you like for dessert, ma’am?”

⟶ พนักงานเสิร์ฟ: “แล้วคุณอยากจะสั่งของหวานประเภทไหนครับ”

Diner: “I would like a passion fruit panna cotta.”

⟶ ลูกค้า: “ฉันขอพานาคอตต้าเสาวรส”

ปรากฏในประโยคหลักของประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentence) แบบที่ 2 หรือ แบบที่ 3

“Would” ยังเป็นส่วนนึ่งในในโครงสร้างประโยคหลักของ Conditional Sentence แบบที่ 2 (ซึ่งแสดงถึงเรื่องทีไม่เป็นจริงในปัจจุบัน) หรือ แบบที่ 3 (ซึ่งแสดงถึงเรื่องทีไม่เป็นจริงในอดีต)

ตัวอย่างที่ 1

Conditional Sentence type 2:

If I were more efficient, I would be in a higher position now.

⟶ ถ้าฉันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (ในอดีต) ฉันคงจะอยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้นในบัดนี้แล้ว

ตัวอย่างที่ 2

Conditional Sentence type 3:

Yesterday, if you hadn’t arrived at the meeting late, we would have presented our idea successfully.

⟶ เมื่อวานนี้ หากคุณไม่มาประชุมสาย พวกเราคงจะนำเสนอความคิด (ไอเดีย) ได้อย่างสำเร็จไปแล้ว

หมายเหตุ  นอกจากนี้ กริยาว่า “would” ยังสามารถใช้ร่วมกับ “prefer” (“would prefer”) หรือ “rather” (“would rather”) เพื่อแสดงความหมายที่แตกต่างกันไป  ซึ่ง ELSA Speak จะธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมในบทความต่อไป

ในบทความครั้งนี้  ELSA Speak ได้นำเสนอวิธีการเปรียบเทียบและหลักการใช้อย่างชัดเจนสำหรับกริยาช่วยคู่ “will” – “would”  ELSA Speak หวังว่าจะช่วยให้ทุกคนได้รับรู้ will would ใช้ยังไง ให้ถูกต้องและง่ายดาย ทั้งระหว่างการเรียนรู้หรือศึกษาภาษาอังกฤษอยู่และเวลานำภาษาอังกฤษไปใช้ในชีวิตประจำวัน  ขอบคุณที่อ่านบทความจนจบ ไว้เจอกันใหม่ในบทความต่อ ๆ ไปนะ